วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของคำว่า   เทคโนโลยีสารสนเทศ
            เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้าน    หลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า C & C อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะนับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ C & C และเกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
            เช่นเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการรวบรวมจัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
            ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด 
            ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปประยุกต์กันอย่างกว้างขวาง งานประยุกต์ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างระบบสารสนเทศแบบต่าง ๆ  มีการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมไปใช้ในหน่วยงานหรือธุรกิจต่าง ๆ มุ่งไปที่การคิดค้นวิธีการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล การจัดระบบข้อมูลให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างรวดเร็วรวมถึงการจัดทำรายงาน ตลอดจนการจัดทำผลลัพธ์ของข้อมูลให้สามารถค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทความสำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
            เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มใช้งานในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยในปี พ..2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในขณะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสาร และนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยมากนัก  เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร และไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น สำนักงานเป็นแหล่งที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีเงินเดือนและบัญชีรายรับรายจ่าย การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกโดยใช้โทรศัพท์และโทรสาร การจัดเตรียมเอกสารด้วยการใช้เครื่องถ่ายเอกสารและคอมพิวเตอร์งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา  เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศ ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น 
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรียกว่า  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ” (Electronic Mail หรือ   E-Mail) 

ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ   หมายถึง  ระบบที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการกับข้อมูลในองค์กร เพี่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ เครือข่ายการสื่อสารและทรัพยากรด้านข้อมูล สำหรับจัดเก็บ รวบรวม ปรับเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ในองค์กร

ภาษาจีน

สีในภาษาจีน

คำว่า สีในภาษาจีน ตรงกับคำว่า 色 เซ่อ (sè) ซึ่งคำนี้จะถูกวางไว้ข้างหลังของคำศัพท์สีทุกสีนั่นเอง
ในบทเรียนนี้เราจะมาทำความรู้จักสีสันต่าง ๆ ในภาษาจีน ว่าเขียนและพูดอย่างไร

红色 อ่านว่า หงเซ่อ (hóng sè) แปลว่า สีแดง

绿色 อ่านว่า ลวี่เซ่อ (lǜ sè) แปลว่า สีเขียว

白色 อ่านว่า ไป๋เซ่อ (bái sè) แปลว่า สีขาว

黑色 อ่านว่า เฮยเซ่อ (hēi sè) แปลว่า สีดำ

蓝色 อ่านว่า หลานเซ่อ (lán sè) แปลว่า สีฟ้า , สีน้ำเงิน

黄色 อ่านว่า หวงเซ่อ (huáng sè) แปลว่า สีเหลือง

橙色 อ่านว่า เฉิงเซ่อ (chéng sè) แปลว่า สีส้ม

棕色 อ่านว่า จงเซ่อ (zōngsè) แปลว่า สีน้ำตาล

棕色 อ่านว่า จงเซ่อ (zōngsè) แปลว่า สีน้ำตาล

ยินดีต้อนรับสู่ 12 Tenses ที่แสนจะง่ายๆเอง ไม่ได้ยากเลย ก่อนเข้าสู่บทเรียนเรื่อง Tense ทั้ง 12 คุณได้ศึกษาหลักการใช้ภาษาอังกฤษ หรือ ไวยากรณ์พื้นฐานแล้วหรือยัง เพราะตัวพื้นฐานดังกล่าวถ้าเปรียบดังตึกคือชั้นล่าง ถ้าพื้นฐานแน่นแล้ว การเรียนเรื่อง tense ก็จะง่ายมากๆ ขอบอก
แต่ถ้าศึกษาแล้วก็เตรียมตัวเรียนกันเลยครับ แต่ต้องพึงระลึกว่า โครงสร้างทางภาษาบางทีต้องท่องจำเหมือนสูตรคูณ แต่ถ้าเราคล่องแล้วมันก็จะง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากนั่นแหละ ซึ่งเราก็จะรู้อัตโนมัติว่าโครงสร้างนี้ คือ Tense อะไร เพราะเวลาแปล จะได้แปลถูก และรู้เรื่อง
เรื่อง tense ก็คือเรื่องของเวลา หมายความว่าเวลาที่เราจะพูดอะไรสักอย่างจะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เพราะตัวเวลานี้แหละที่ทำให้โครงสร้างประโยคเปลี่ยนไป เช่น
  • eat rice. ถ้าพูดอย่างนี้หมายความว่ากินข้าวเป็นอาหารหลัก และกินทุกวัน
  • am eating rice. หมายความว่ากำลังกินข้าวอยู่
  • ate rice. หมายความว่า ฉันได้กินแล้วข้าวเรียบร้อย
ยกตัวอย่างให้ดูคร่าวๆ นะครับ เดี๋ยวค่อยทำความเข้าใจไปทีละเรื่อง เดี๋ยวจะเข้าใจเองแหละครับ
เนื้อหาทั้งหมดด้านล่างนี้เป็นสุดยอดเคล็ดลับวิชาจากเส้าหลิน ที่่ผ่านการกลั่นกรองแล้วว่าคัดมาแต่เนื้อๆ และรับรองผล แต่ต้องศึกษาให้เข้าใจไปตามขั้นตอน โดยเฉพาะมือใหม่ ห้ามลัดหรือข้ามเป็นอันขาด มิฉะนั้นจะยิ่งงงมากขึ้น  แต่ถ้าเข้าใจแล้วในบางเรื่อง ก็เลือกศึกษาเฉพาะเรื่องที่ต้องการก็ได้

ประโยค เรื่อง เพื่อนสอนเพื่อน


     ส่วนประกอบของประโยค
     ส่วนที่ 1 ภาคประธาน เป็นคำนามหรือสรรพนามที่กล่าวขึ้นก่อน ให้รู้ว่าใครเป็นผู้ทำกริยา
     ส่วนที่ 2 ภาคแสดง เป็นส่วนประกอบของประโยคที่มีคำกริยาเป็นหลัก เป็นคำที่แสดงอาการของภาคประธานให้ได้ความครบถ้วนสมบูรณ์ว่าแสดงกริยาอย่างไร

สื่อ CAI Project
สื่อการเรียนการสอนจากโครงการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียสามมิติ (3D Interactive E - Learning) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World class school)
โดย สพฐ.และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ

ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ
1. ศิลปกรรม
เป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งหลักเกณฑ์การ
สร้างสรรค์ และคุณค่าของศิลปะ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจ ประทับใจในศิลปะ แล้วนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองและสังคม

1.1 ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ (ART) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และมีค่านิยมที่ไม่แน่นอนตายตัว 
ขึ้นอยู่กับผู้ให้คำนิยาม เช่น ศิลปิน นักการศึกษาทางศิลปะ และนักวิจารณ์ศิลปะ เป็นต้น จึงพอจะสรุปได้ว่า
“ศิลปะ คือ ผลงานของมนุษย์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพึง
พอใจของมนุษย์”