วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Cleve Hitch )

ประโยชน์
     ๑. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือเรือแพเพื่อป้องกันไม่ให้ปมเชือกคลายหลุดควรเอาปลายเชือกผูกขัดสอดกับตัวเชือก ๑ รอบ )
    ๒. ใช้ผูกบันไดเชือก บันไดลิง  ผูกกระหวัดไม้
    ๓. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท. งื่อนพิรอด  ( Reef Knot หรือ Square Knot ) ประโยชน์
    ๑.  ใช้ต่อเชือก ๒ เส้น ที่มีขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
    ๒.  ใช้ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ
    ๓.  ใช้ผูกมัดหีบห่อ และวัตถุต่าง ๆ
    ๔.  ผูกเชือกรองเท้า ( ปลายกระตุก ๒ ข้าง ) และผูกโบว์
    ๕.  ใช้ผูกกากบาทญี่ปุ่น     ๖.  ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการเพื่อช่วยคนที่อยู่ที่สูงในยามฉุกเฉิน ( ต้องเป็นผ้าเหนียว ๆ )  
 พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา" พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

          ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันสวนลุมพินีวันอยู่ในประเทศเนปาล)
          ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา" แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้แล้ว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความดูแลของพระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา 

          ทั้งนี้ พราหมณ์ ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน 
ประวัติพระพุทธเจ้า : ชีวิตในวัยเด็ก

          เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

          เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง" 
เครื่องดนตรีไทยเกิดจากชนชาติไทยเองและการเลียนแบบชนชาติอื่นๆ ที่อยุ่ใกล้ชิดโดยเริ่มตั้งแต่สมัยโบราณที่ไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาจักรฉ่องหวู่ดินแดนของประเทศจีนในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง] ทำให้เครื่องดนตรีไทยและจีนมีการแลกเปลี่ยนเลียนแบบกัน นอกจากนี่ยังมีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิด ที่ชนชาติไทยประดิษฐ์ขึ้นใช้ก่อนที่จะมาพบวัฒธรรมอินเดีย ซึ่งแพร่หลายอยู่ทางตอนใต้ของแหลมอินโดจีน[ต้องการอ้างอิง] สำหรับชื่อเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยจะเรียนตามคำโดดในภาษาไทย เช่น เกราะ โกร่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ ขลุ่ย พิณเปี๊ยะ ซอ ฆ้องและกลอง ต่อมาได้มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีให้พัฒนาขึ้น โดยนำไม้ที่ทำเหมือนกรับหลายอันมาวางเรียงกันได้เครื่องดนตรีใหม่ เรียกว่าระนาดหรือนำฆ้องหลาย ๆ ใบมาทำเป็นวงเรียกว่า ฆ้องวง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมทางดนตรีของอินเดีย มอญ เขมร ในแหลมอินโดจีนที่ไทยได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ ได้แก่ พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับปี่ จะเข้ โทน(ทับ) เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ไทยได้นำบทเพลงและเครื่องดนตรีบางอย่างของประเทศเพื่อนบ้านมาบรรเลงในวงดนตรีไทย เช่น กลองแขกของชวา กลองมลายูของมลายู เปิงมางของมอญ และกลองยาวของไทยใหญ่ที่พม่านำมาใช้ รวมทั้งขิม ม้าล่อ และกลองจีน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของจีน เป็นต้น ต่อมาไทยมีความสัมพันธ์ชาวกับตะวันตกและอเมริกา ก็ได้นำกลองฝรั่ง เช่นกลองอเมริกัน และเครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น ไวโอลีน ออร์แกน มาใช้บรรเลงในวงดนตรีของไทย
อาณาจักรสุโขทัย(สุกโขไท:ตามจารึก)[1] เป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

พระเยซู (อังกฤษJesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (อังกฤษJesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33[10]) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า[11] แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า[12] และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอล[13]เช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด[14]
คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους [Iēsoûs] ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua [เยชูวา] ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός [Christos] ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น
เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี
ฉลากสินค้า ก็คือ ข้อมูลทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมด โดยจะเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเลย ที่จะทำให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ได้มาซื้อสินค้านั้นประกอบการตัดสินใจต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่นั้นบนเนื้อหาของฉลากสินค้าก็จะต้องมีข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณ ข้อมูลโภชนาการ หมายเลขทางการค้า เครื่องหมายรับรองต่างๆ ซึ่งบางทีเราก็อาจจะเพิ่มสาระสำคัญเล็กน้อยลงไปได้ โดยการออกแบบฉลากสินค้าให้มีความน่าสนใจนั้นก็จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยเรื่อง ราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต รวมถึงศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม วิชาสังคมศึกษาจึงช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร และเข้าใจถึงการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ตามกาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเองและเข้าใจผู้อื่น ยอมรับในความแตกต่าง มีคุณธรรม มีความอดทน อดกลั้น สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก อันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการเรียนวิชาสังคมศึกษา

                               ชั้นบรรยากาศ                                                                                                                                                                                                                                                                                        1. บรรยากาศ คือ อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวของสิ่งมีชีวิตและห่อหุ้มโลกของเราไว้ มีความสำคัญ คือ มีแก๊สที่จำเป็นสำหรับการหายใจของสิ่งมีชีวิต ช่วยให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่จะอาศัยอยู่ได้  ช่วยป้องกันรังสีและอนุภาคต่าง ๆ ที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ ช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอมที่มาจากนอกโลก
          2. อากาศแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ อากาศแห้ง หมายถึง อากาศที่ไม่มีไอน้ำอยู่ด้วย และอากาศชื้น หมายถึง อากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย อากาศเป็นของผสมประกอบด้วยแก๊สต่าง ๆ ได้แก่ ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ
          3. การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์อุณหภูมิ แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ โทรโพสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์ เมโซสเฟียร์ และเทอร์โมสเฟียร์ 
          4. การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์สมบัติของแก๊สในบรรยากาศ แบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่ โทรโพสเฟียร์ โอโซ โนสเฟียร์ ไอโอโนสเฟียร์ และเอกโซสเฟียร์
          5. การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์อุตุนิยมวิทยา แบ่งเป็น 5 ชั้น ได้แก่ บริเวณที่มีอิทธิพลของความฝืด โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและชั้นบน โทรโพโพส สตราโตสเฟียร์ และบรรยากาศชั้นสูง
 จำนวนเต็ม (Integer)                 
                            จำนวนเต็ม คือ จำนวนที่ไม่มีเศษส่วนและทศนิยมรวมอยู่ในจำนวนนั้น 
                จำนวนเต็มประกอบด้วย  จำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ  และศูนย์  ดังแผนภูมินี้
                                
                                    จำนวนเต็ม
                                จำนวนเต็มบวก           จำนวนเต็มลบ          จำนวนเต็มศูนย์
 

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของคำว่า   เทคโนโลยีสารสนเทศ
            เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้าน    หลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า C & C อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะนับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ C & C และเกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
            เช่นเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการรวบรวมจัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
            ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด 
            ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปประยุกต์กันอย่างกว้างขวาง งานประยุกต์ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างระบบสารสนเทศแบบต่าง ๆ  มีการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมไปใช้ในหน่วยงานหรือธุรกิจต่าง ๆ มุ่งไปที่การคิดค้นวิธีการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล การจัดระบบข้อมูลให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างรวดเร็วรวมถึงการจัดทำรายงาน ตลอดจนการจัดทำผลลัพธ์ของข้อมูลให้สามารถค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทความสำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย
            เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มใช้งานในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยในปี พ..2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในขณะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสาร และนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยมากนัก  เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร และไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น สำนักงานเป็นแหล่งที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีเงินเดือนและบัญชีรายรับรายจ่าย การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกโดยใช้โทรศัพท์และโทรสาร การจัดเตรียมเอกสารด้วยการใช้เครื่องถ่ายเอกสารและคอมพิวเตอร์งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา  เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศ ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น 
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรียกว่า  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ” (Electronic Mail หรือ   E-Mail) 

ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ   หมายถึง  ระบบที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการกับข้อมูลในองค์กร เพี่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ เครือข่ายการสื่อสารและทรัพยากรด้านข้อมูล สำหรับจัดเก็บ รวบรวม ปรับเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ในองค์กร

ภาษาจีน

สีในภาษาจีน

คำว่า สีในภาษาจีน ตรงกับคำว่า 色 เซ่อ (sè) ซึ่งคำนี้จะถูกวางไว้ข้างหลังของคำศัพท์สีทุกสีนั่นเอง
ในบทเรียนนี้เราจะมาทำความรู้จักสีสันต่าง ๆ ในภาษาจีน ว่าเขียนและพูดอย่างไร

红色 อ่านว่า หงเซ่อ (hóng sè) แปลว่า สีแดง

绿色 อ่านว่า ลวี่เซ่อ (lǜ sè) แปลว่า สีเขียว

白色 อ่านว่า ไป๋เซ่อ (bái sè) แปลว่า สีขาว

黑色 อ่านว่า เฮยเซ่อ (hēi sè) แปลว่า สีดำ

蓝色 อ่านว่า หลานเซ่อ (lán sè) แปลว่า สีฟ้า , สีน้ำเงิน

黄色 อ่านว่า หวงเซ่อ (huáng sè) แปลว่า สีเหลือง

橙色 อ่านว่า เฉิงเซ่อ (chéng sè) แปลว่า สีส้ม

棕色 อ่านว่า จงเซ่อ (zōngsè) แปลว่า สีน้ำตาล

棕色 อ่านว่า จงเซ่อ (zōngsè) แปลว่า สีน้ำตาล

ยินดีต้อนรับสู่ 12 Tenses ที่แสนจะง่ายๆเอง ไม่ได้ยากเลย ก่อนเข้าสู่บทเรียนเรื่อง Tense ทั้ง 12 คุณได้ศึกษาหลักการใช้ภาษาอังกฤษ หรือ ไวยากรณ์พื้นฐานแล้วหรือยัง เพราะตัวพื้นฐานดังกล่าวถ้าเปรียบดังตึกคือชั้นล่าง ถ้าพื้นฐานแน่นแล้ว การเรียนเรื่อง tense ก็จะง่ายมากๆ ขอบอก
แต่ถ้าศึกษาแล้วก็เตรียมตัวเรียนกันเลยครับ แต่ต้องพึงระลึกว่า โครงสร้างทางภาษาบางทีต้องท่องจำเหมือนสูตรคูณ แต่ถ้าเราคล่องแล้วมันก็จะง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากนั่นแหละ ซึ่งเราก็จะรู้อัตโนมัติว่าโครงสร้างนี้ คือ Tense อะไร เพราะเวลาแปล จะได้แปลถูก และรู้เรื่อง
เรื่อง tense ก็คือเรื่องของเวลา หมายความว่าเวลาที่เราจะพูดอะไรสักอย่างจะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เพราะตัวเวลานี้แหละที่ทำให้โครงสร้างประโยคเปลี่ยนไป เช่น
  • eat rice. ถ้าพูดอย่างนี้หมายความว่ากินข้าวเป็นอาหารหลัก และกินทุกวัน
  • am eating rice. หมายความว่ากำลังกินข้าวอยู่
  • ate rice. หมายความว่า ฉันได้กินแล้วข้าวเรียบร้อย
ยกตัวอย่างให้ดูคร่าวๆ นะครับ เดี๋ยวค่อยทำความเข้าใจไปทีละเรื่อง เดี๋ยวจะเข้าใจเองแหละครับ
เนื้อหาทั้งหมดด้านล่างนี้เป็นสุดยอดเคล็ดลับวิชาจากเส้าหลิน ที่่ผ่านการกลั่นกรองแล้วว่าคัดมาแต่เนื้อๆ และรับรองผล แต่ต้องศึกษาให้เข้าใจไปตามขั้นตอน โดยเฉพาะมือใหม่ ห้ามลัดหรือข้ามเป็นอันขาด มิฉะนั้นจะยิ่งงงมากขึ้น  แต่ถ้าเข้าใจแล้วในบางเรื่อง ก็เลือกศึกษาเฉพาะเรื่องที่ต้องการก็ได้

ประโยค เรื่อง เพื่อนสอนเพื่อน


     ส่วนประกอบของประโยค
     ส่วนที่ 1 ภาคประธาน เป็นคำนามหรือสรรพนามที่กล่าวขึ้นก่อน ให้รู้ว่าใครเป็นผู้ทำกริยา
     ส่วนที่ 2 ภาคแสดง เป็นส่วนประกอบของประโยคที่มีคำกริยาเป็นหลัก เป็นคำที่แสดงอาการของภาคประธานให้ได้ความครบถ้วนสมบูรณ์ว่าแสดงกริยาอย่างไร

สื่อ CAI Project
สื่อการเรียนการสอนจากโครงการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียสามมิติ (3D Interactive E - Learning) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World class school)
โดย สพฐ.และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ

ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ
1. ศิลปกรรม
เป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งหลักเกณฑ์การ
สร้างสรรค์ และคุณค่าของศิลปะ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจ ประทับใจในศิลปะ แล้วนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองและสังคม

1.1 ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ (ART) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และมีค่านิยมที่ไม่แน่นอนตายตัว 
ขึ้นอยู่กับผู้ให้คำนิยาม เช่น ศิลปิน นักการศึกษาทางศิลปะ และนักวิจารณ์ศิลปะ เป็นต้น จึงพอจะสรุปได้ว่า
“ศิลปะ คือ ผลงานของมนุษย์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพึง
พอใจของมนุษย์”

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

ความรู้สึกในการเรียนซัมเมอร์

      การเรียนซัมเมอร์สำหรับฉัน ฉันว่าเป็นการเรียนปรับพื้นฐานที่มีทั้งความสนุกและอีกหลายๆอย่าง
และการเรียนซัมเมอร์ทำให้ฉันรู้ในหลายๆเรื่องที่ฉันยังไม่เคยรู้มาก่อน ฉันดีใจที่ได้เรียนซัมเมอร์กับคุณครูและเพื่อนทุกๆคน ฉันชอบการเรียนซัมเมอร์ในหลายๆเรื่องทั้งมีคุณครูที่ใจดีและมีเพื่อนๆที่นิสัยดี การเรียนซัมเมอร์ก็ทำให้ฉันได้เจอเพือนใหม่ๆ ถึงการเรียนซัมเมอร์จะมีแค่17วันแต่ความรู้สึกของฉันที่มีให้กับการเรียนซัมเมอร์มันมากกว่า17วัน ฉันอยากให้การเรียนซัมเมอร์มีอีกหลายๆวันเพราะฉันอยากจะเรียนกับเพื่อนใหม่ๆของฉันนานๆถ้าเปิดเทอมฉันกับเพื่อนก็มีโอกาสที่ไม่ได้อยู่ห้องเดียวกัน ฉันจะจำช่วงเวลาที่ดีๆนี้ไว้ในใจของฉันตลอดไป ฉันก็ขอบคุณครูทุกคนที่สอนฉันมาในช่วงเวลาเรียนซัมเมอร์นี้และฉันก็ขอบใจเพือนๆทุกคนที่อยู่กับฉันมาตลอดในช่วงเวลาเรียนซัมเมอร์ ถึงแม้บางครั้งฉันจะเบื่อๆบ้างกับการเรียนซัมเมอร์แต่ฉันก็กับมาสนุกและมีความสุขเพราะได้เรียนกับครูที่ใจดีและเพื่อนๆที่น่ารัก ฉันรักการเรียนซัมเมอร์มากๆและฉันรักทุกๆคน i love darunaratchaburi